ขณะนี้มีผู้ใช้งาน 1 ท่าน จำนวนผู้เข้าชม 296369 ครั้ง   

วิสัยทัศน์ - พันธกิจ
 

ทิศทางการจัดการศึกษา  สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2   ปี 2562
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2



กรอบนโยบายการจัดการศึกษา :

       นายวิสูตร  เจริญวงษ์  ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 ได้ให้นโยบายพัฒนาการศึกษาและแนวทางในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน  ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2  โดยใช้กระบวนการ “ESPG 14”  4 ด้าน ดังนี้


   1. มิติด้านการศึกษา (Education):


        1.1 ส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรมในการดำเนินชีวิต
        1.2 ยกระดับให้ผู้เรียนมีคุณภาพการเรียนรู้ตามช่วงวัย
        1.3 ส่งเสริมและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ สื่อ ตำราให้มีคุณภาพและสามารถเข้าถึงได้ทุกโอกาส
        1.4 พัฒนาผู้เรียนใช้เทคโนโลยี ดิจิตัลเพื่อการศึกษาทุกช่วงวัยในการเรียนรู้
        1.5 ส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียนและสร้างนวัตกรรมเพื่อการมีงานทำและมีศักยภาพทักษะวิชาการเพื่อการแข่งขันในเวทีสากล


     2. มิติด้านการบริการที่เป็นเลิศ  (Service Excellence)


         2.1 เพิ่มโอกาสผู้เรียนและการบริการทางการศึกษาให้ความเสมอภาคกับผู้เรียนเท่าเทียมกัน
         2.2 สร้างศักยภาพผู้เรียนให้สอดคล้องและสนองความต้องการของภาคีเครือข่ายชุมชนและผู้ปกครอง
         2.3 อัตราการรู้หนังสือเพิ่มขึ้น และมีแหล่งเรียนรู้ ในการศึกษาค้นคว้าการศึกษาและอาชีพ
         2.4 พัฒนาสถานศึกษาเป็นฐานให้มีจิตสำนึกอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยและประเพณีไทย และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมขยายผลต่อสังคม ชุมชน


     3. มิติด้านบุคลากรที่เป็นเลิศ (Persional Excellence)


        3.1 พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในตำแหน่งอย่างมืออาชีพ
        3.2 พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา มุ่งมั่นในการพัฒนาตนเอง เป็นกำลังสำคัญในการยกระดับคุณภาพผู้เรียน พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง
        3.3 พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา มีศักยภาพการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาและเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้


4. มิติด้านหลักธรรมาภิบาลที่เป็นเลิศ (Governance Excellence)

    
       4.1 สร้างภาคี เครือข่ายการจัดการศึกษาใช้หลักธรรมาภิบาล
       4.2 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสถานศึกษามีความโปร่งใสและตรวจสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
              

    แนวทางการพัฒนาโรงเรียน


        1. พระบรมราโชบายด้านการศึกษา 10 ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ์บดินทร-เทพยวรางกูร
             2.  แนวทางการขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติ
                      - ใช้กรอบแนวทางตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปี 2562 และพร้อมปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมตามนโยบายเร่งด่วน
      - ยุทธศาสตร์ EEC จังหวัดฉะเชิงเทรา
                       - ขับเคลื่อนตามแนวทาง จุดเน้น ESPG 14
       - ขับเคลื่อนตามแนวทางการบริหารจัดการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2  ประจำปี 2562
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 ใช้เทคโนโลยี ระบบ TECS4 ห้องเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งโรงเรียน เป็นนวัตกรรมในการบริหารจัดการด้านคลังข้อมูล ข่าวสาร ระบบโครงข่ายภายในสถานศึกษาเพื่อรองรับการทำงานของสัญญาณอินเตอร์เน็ตและอินทราเน็ต จัดการความรู้ KMS แสดงผลการเรียน คลังข้อสอบ หลักสูตร 8 กลุ่มสาระ EEC และ Smart school Thailand 4.0 ให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ สะดวกในการประมวลผลและใช้ประโยชน์ เพื่อการบริหารงบประมาณ การวางแผนอย่างเป็นระบบ  เป็นช่องทางในการดูแลช่วยเหลือ กำกับ ติดตาม ให้สามารถควบคุมการดำเนินงานจากผู้บริหารทุกระดับ และประชาสัมพันธ์กิจกรรมของหน่ายงาน ข้อราชการต่าง ๆ และข้อมูลสารสนเทศ ให้บุคลากรในสังกัด และบุคคลทั่วไปได้ใช้ประโยชน์อย่างรวดเร็ว และสะดวกในการค้นหาทางเว็บไซต์                  
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 ดำเนินกิจกรรมพัฒนาคุณภาพการศึกษา ให้สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นและบริบทของหน่วยงาน โดยจำแนกศักยภาพด้านคุณภาพการศึกษา ตามสี และกำหนดเป้าหมายในการดำเนินกิจกรรมจำแนกตามขนาดของโรงเรียน คือ
     กลุ่มที่ 1 โรงเรียนขนาดเล็ก    นักเรียน 1 – 120  คน  (59 โรงเรียน)
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2  มีการบริหารจัดการโรงเรียน
ขนาดเล็กโดยจัดรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ใช้กระบวนการ PLC  ดังนี้
     1) โรงเรียนที่มีนักเรียนตั้งแต่ 50 คนลงมา จำนวน 14 โรงเรียน  จัดรูปแบบใน 8 รูปแบบ
ตามความต้องการ ตามมติที่ประชุมเน้นรูปแบบโรงเรียนคู่ขนาน
     2) โรงเรียนที่มีนักเรียน 51 - 60 คน  จำนวน 9 โรงเรียน  จัดรูปแบบใน 8 รูปแบบ
ตามความต้องการ ตามมติที่ประชุม เน้นรูปแบบสอนแบบคละชั้น, รวมชั้นหรือรวมช่วงชั้น และใช้ DLTV
     3) โรงเรียนที่มีนักเรียน 61 - 80 คน  จำนวน 17 โรงเรียน  จัดรูปแบบ ใน 8 รูปแบบ  
ตามความต้องการ ตามมติที่ประชุม เน้นรูปแบบสอนปรับตารางเรียนเปลี่ยนตารางสอน  และใช้ DLTV
    4) โรงเรียนที่มีนักเรียน 81 - 100 คน  จำนวน 11 โรงเรียน  จัดรูปแบบใน 8 รูปแบบ
ตามความต้องการ ตามมติที่ประชุม เน้นรูปแบบ สอนปรับตารางเรียนเปลี่ยนตารางสอน และใช้ DLTV
    5) โรงเรียนที่มีนักเรียน 101 - 120 คน  จำนวน 8 โรงเรียน  จัดรูปแบบใน 8 รูปแบบ
ตามความต้องการ ตามมติที่ประชุม เน้นรูปแบบ สอนปรับตารางเรียนเปลี่ยนตารางสอน และใช้ DLTV

    สำหรับการขับเคลื่อนงานวิชาการเพื่อยกระดับคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็กให้เป็นไปตามเป้าหมาย ดำเนินการ ดังนี้
        การพัฒนาโรงเรียน    
               - จัดทำแผนการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก ตามรูปแบบและบริบทของสถานศึกษา
               - พัฒนาด้านภาษาไทย คณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์ และภาษาต่างประเทศ
 การแข่งขัน ประกวด คัดเลือกโรงเรียนขนาดเล็กที่เป็นเลิศ
 การนิเทศ กำกับ ติดตาม
               -  ติดตามโรงเรียนขนาดเล็กที่มีนักเรียนต่ำกว่า 60 คนลงมา เรื่องทดสอบวิชาภาษาไทย
และคณิตศาสตร์ ชั้น ป.1 – 3  
                -  ติดตามการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กทุกโรงเรียน  และตามนโยบายของ
กระทรวงศึกษาธิการ  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  

            กลุ่มที่ 2 โรงเรียนขนาดกลาง  นักเรียน  121 - 500  คน  (82  โรงเรียน)
             การยกระดับโรงเรียนตามแนวทาง SO  (จุดแข็งและโอกาส)
กลุ่มที่ 3  โรงเรียนขนาดใหญ่   นักเรียน  501 คนขึ้นไป  (8  โรงเรียน)
   โรงเรียนพัฒนาได้ตามความจำเป็นต้องการอย่างอิสระ  
   ครูวิชาการตาม  8 กลุ่มสาระเข้มแข็ง
   รับการตรวจสอบจากหน่วยตรวจสอบภายใน


    เป้าหมายการบริหารจัดการศึกษาในระดับสถานศึกษา ประจำปี 2562  ใน 3 ด้าน :


          1. ด้านผู้เรียน
              1.1 นักเรียนมีองค์ความรู้ในศตวรรษที่ 21 (3R8C) ด้านการอ่าน การเขียน การคิด การคำนวณ
มีวินัย คุณธรรม นักเรียนจะมีการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น สร้างสรรค์ และท้าทาย ซึ่งมีทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้ของนักเรียนทุกคน
              1.2 ส่งเสริม สนับสนุนนักเรียนด้านการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก
EEC
                  1) ระดับประถมศึกษา ให้มีความตระหนัก ความรู้ความเข้าใจในพื้นที่เขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก
                  2) ระดับมัธยมศึกษา ให้มีความรู้ในด้านทักษะอาชีพ และอาชีพที่สอดคล้องกับ 10 อุตสาหกรรมหลัก
     1.3 การยกระดับความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ NT ป.3 และผลการทดสอบ
ทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน O-NET  ป.6 และ ม.3  จะใช้สีในการเปรียบเทียบ
             1.4 การพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียน
                 1) กิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้  ระดับประถมศึกษา ความรู้พื้นฐานทักษะชีวิต,
ระดับมัธยม การประกอบอาชีพ
                 2) การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ จิตอาสา ให้สอดคล้องตามศาสตร์พระราชา นักเรียน  
ร่วมกิจกรรมอนุรักษ์ธรรมชาติ ป่าไม้ ดิน อากาศ  
                3) กิจกรรมคุณธรรม  ตามศาสตร์พระราชาสู่การปฏิบัติ
         2. ด้านครูผู้สอน
             2.1 การพัฒนาครูอย่างเป็นระบบ ID Plan เพื่อให้การจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพในรูปแบบ
ที่หลากหลาย เช่น TEPE Online PLC การเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจริง แสวงหาศักยภาพสู่ความเป็นเลิศ
             2.2 การส่งเสริมสนับสนุนครูไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน
คลังข้อสอบ สื่อ DLTV การใช้สื่อทางไกลต่าง ๆ  ดิจิทัล/ICT  
     2.3 การจัดทำคลังข้อสอบ และสอบวัดความรู้นักเรียน
     2.4 การยกย่องเชิงชูเกียรติ ครูสอนดี
       3. ด้านสถานศึกษา
      3.1 ระบบการนิเทศภายในสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ และสถานศึกษาได้รับการนิเทศ
ในรูปแบบที่หลากหลายตามกลุ่มเป้าหมายและภารกิจในการยกระดับ โดยใช้เขตคุณภาพการศึกษาเป็นศูนย์กลางเครือข่ายความร่วมมือ และเป็นฐานในการใช้อินเตอร์เน็ตในเรื่องสื่อการเรียนการสอน เน้นการนิเทศโรงเรียนใน 3 กลุ่ม  โรงเรียนขนาดเล็ก เป้าหมายโรงเรียนสีแดงเป็นหลัก  ขนาดกลางและขนาดใหญ่ กลุ่มเป้าหมาย        
ที่คาดหวัง
      3.2 จัดทำแผนงาน/โครงการที่สอดคล้องกับนโยบายในการยกระดับคุณภาพการศึกษา
และมีส่วนร่วมจากผู้เกี่ยวข้อง
              3.3 สถานศึกษามีระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบ มีการทำงานร่วมกันระหว่าง
ผู้ปกครอง ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
      3.4 การใช้สื่อ DLTV ในโรงเรียน
                       1) โรงเรียนขนาดเล็ก ใช้สื่อ DLTV ตามศักยภาพของสถานศึกษา
                       2) กำหนดแผนการสอน  พัฒนาแผนการเรียนรู้ วิเคราะห์ออกแบบแผนการเรียนรู้
เน้นตัวชี้วัด/มาตรฐาน  คุณลักษณะที่พึงประสงค์ สมรรถนะของผู้เรียน  
      3) ครูต้นทางสอนตรงวิชาเอก ผ่านการอบรมและพัฒนา มีช่องทางเลือก 15 ช่อง (ก่อน/หลัง) สัญญาน ใช้ Internet ได้
      4) คลังสื่อการเรียนรู้ ใบงาน ใบความรู้ แผนการเรียนรู้ การวัดผล
       3.5 การใช้สื่อ และเทคโนโลยี ระบบ TECS4 ในการบริหารจัดการและการจัดการเรียนการสอน

วิสัยทัศน์ :

           สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 เป็นองค์กรที่สร้างโอกาสทางการศึกษา ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานสู่มาตรฐานสากล1  บนพื้นฐานความเป็นไทย2  โดยความร่วมมือของทุกภาคส่วน

พันธกิจ :

                1. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชากรวัยเรียนทุกคน ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ
                2. พัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานสู่มาตรฐานสากล
                3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และค่านิยม
                4. พัฒนาประสิทธิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมศักยภาพของนักเรียน
                5. ส่งเสริม สนับสนุนการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อคุณภาพการศึกษา


ค่านิยม :

ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมสร้างสรรค์ เพื่อการศึกษาไทย ให้ก้าวไกลสู่สากล

เป้าประสงค์ :

          1. ประชากรวัยเรียนทุกคนได้รับโอกาสในการศึกษาอย่างทั่วถึง มีคุณภาพ    ตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
          2. ครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา มีทักษะที่เหมาะสม    และมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ในการทำงาน
          3. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษามีการบริหารจัดการที่เข้มแข็งและเป็นกลไกขับเคลื่อนการศึกษาไปสู่มาตรฐานสากล ตามหลักธรรมาภิบาล การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนและการสร้างเครือข่าย

ค่านิยม : Values:

ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมสร้างสรรค์ เพื่อการศึกษาไทย ให้ก้าวไกลสู่สากล

กลยุทธ์ : strategy

         สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2  ได้กำหนดกลยุทธ์ จุดเน้น
ที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้
          กลยุทธ์  1  จัดการศึกษาเพื่อความมั่นคง
          กลยุทธ์  2 พัฒนาคุณภาพผู้เรียน และส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน
          กลยุทธ์  3  ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
          กลยุทธ์  4  ขยายโอกาสการเข้าถึงบริการทางการศึกษาและการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ       
          กลยุทธ์  5  จัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  กลยุทธ์  6  พัฒนาระบบบริหารจัดการและส่งเสริมการมีส่วนร่วม